วันจันทร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2555

แนวทางการศึกษา

แนวทางการศึกษาในหลักสูตรผู้ประกอบการสังคม
ที่ใช้ชุมชนเป็นฐานการเรียน (สำหรับนักศึกษา)



โดย ดร.ศักดิ์ ประสานดี


                  ขั้นตอนที่ 1 ให้ผู้สมัครเป็นนักศึกษาทุกคนได้กำหนดเป้าหมายของการเรียนก่อน อาจจะตั้งแต่การส่งใบสมัครเข้ามาเรียนด้วยซ้ำ เหมือนนักศึกษาปริญญาโท และปริญญาเอก คือการเลือกผู้เข้าเรียนจากใบสมัคร การกำหนดเป้าหมายนี้ให้นักศึกษาตอบคำถามว่า
1)      หัวข้อที่ต้องการเป็นผู้ประกอบการสังคม เหตุผลที่สนใจ
2)      กำหนดพื้นที่ปฏิบัติการ  
3)      กำหนดเป้าหมายของความสำเร็จ
ขั้นตอนที่ 2  การศึกษาชุมชน และการประกอบการทางสังคม  เป็นการเริ่มต้นการศึกษาในปีที่ 1 (ภาคเรียนที่ 1, 2 และภาคฤดูร้อน)

เทอม 1   

1)      ประวัติศาสตร์ของชุมชน, และข้อมูลสำคัญของชุมชน ปัญหาชุมชนพื้นที่ปฏิบัติการกับการพัฒนาที่ผ่านมา
2)      เครือข่ายชุมชนและการจัดการ
3)      วัฒนธรรมชุมชนและทุนทางสังคม                            
4)      กองทุนและสวัสดิการชุมชน
5)      การจัดทำแผนที่ชุมชนเพื่อการพัฒนา

เทอม 2
6)      เศรษฐกิจชุมชน 
7)      วิสาหกิจชุมชน
8)      สังคมชนบทและสังคมเมือง
9)      พุทธเศรษฐศาสตร์และเศรษฐกิจพอเพียง
10)  ข้อมูลทางสถิติและสารสนเทศชุมชน

เทอม 3
11)  แนวคิดผู้ประกอบการสังคม                                   
12)  การพัฒนาทักษะผู้ประกอบการสังคม
13)  สหกรณ์กับการพัฒนา                                
14)  กรณีศึกษาการเป็นผู้ประกอบการสังคมในชุมชน           
15)  นวัตกรรมการประกอบการสังคม

หมายเหตุ ก่อนจะเข้าสู่การเรียนสัปดาห์แรก จะให้นักศึกษาทุกคนเข้าค่าย “มงคลชีวิต” เสียก่อน (ซึ่งเป็นรายวิชาหนึ่งของหลักสูตร) เพื่อปรับทัศนคติร่วมกัน และสร้างความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตของนักศึกษา)

                 ขั้นตอนที่ 3 การปฏิบัติการเป็นผู้ประกอบการสังคม  ขั้นที่ 3 นี้น่าจะอยู่ในปีการศึกษาที่ 2, 3 โดยอาจจะมีแนวทางดังนี้
3.1        การวางแผนการพัฒนาเป็นผู้ประกอบการสังคม น่าจะอยู่ที่ปีการศึกษาที่ 2 ภาคเรียนที่ 1  (ตัวอย่าง)
1)      ธรรมชาติศึกษา การเปลี่ยนแปลงและการธำรงรักษา        
2)      สิ่งแวดล้อม ทรัพยากร และวิกฤติโลก
3)      สังคม เศรษฐกิจ และการเมืองการปกครองไทย     
4)      วิถีสุขภาวะแบบองค์รวม  
5)      กระบวนทัศน์การพัฒนา  
6)      นโยบายสาธารณะ

หมายเหตุ ก่อนเข้าเรียนในปีการศึกษาที่ 2 นักศึกษาจะเข้าค่าย “จิตปัญญาสิกขา” ซึ่งเป็นรายวิชาหนึ่งของหลักสูตร

3.2  การดำเนินการพัฒนาเป็นผู้ประกอบการสังคม  น่าจะอยู่ที่ปีการศึกษาที่ 2 ภาคเรียนที่ 2, และ ปีการศึกษาที่ 3 ดังนี้

ปีการศึกษาที่ 2 ภาคเรียนที่ 2, มีรายวิชาดังนี้  (ตัวอย่าง)
1)      ฝึกปฏิบัติการเป็นผู้ประกอบการ 1
2)      การจัดทำแผนแม่บทชุมชน
3)      การจัดทำโครงการและบริหารโครงการ    
4)      ภาวะผู้นำชุมชนและการพัฒนาทีมงาน
5)      กระบวนการมีส่วนร่วมของสังคมเพื่อการพัฒนา
6)      วิทยากรกระบวนการ                                  


ปีการศึกษาที่ 3 การฝึกปฏิบัติการและการเรียนรู้เพิ่มเติมตามรายวิชาทั่วไปตามมาตรฐานของ สกอ.
     ภาคการศึกษาที่ 1  (ตัวอย่าง)
1.      ฝึกปฏิบัติการเป็นผู้ประกอบการ 2
2.      การจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง
3.      การผลิตสื่อชุมชน
4.      การจัดการความขัดแย้ง
5.      หลักบัญชีเบื้องต้น
6.      ทักษะการฟัง การอ่านเอาเรื่อง การพูดและการเขียนภาษาไทย

     ภาคการศึกษาที่ 2  (ตัวอย่าง)
1.      ฝึกปฏิบัติการเป็นผู้ประกอบการ 3
2.      ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย           
3.      หลักการปกครองท้องถิ่น
4.      รัฐธรรมนูญ สถาบันการเมือง และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับชุมชน
5.      คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาชุมชน 

ขั้นตอนที่ 4 การสรุปและการถอดความรู้การเป็นผู้ประกอบการสังคม ขั้นตอนนี้น่าจะอยู่ที่ปีการศึกษาที่ 4  โดยภาคการศึกษาที่ 1 จะเป็นการสรุปและการถอดความรู้ ภาคการศึกษาที่ 2 เป็นการเรียบเรียงและจัดทำเป็นเอกสารและการนำเสนอต่อคณะกรรมการหลักสูตรและสาธารณะ รวมถึงการศึกษาตามรายวิชาอื่นๆ ที่เป็นการศึกษาทั่วไปตามมาตรฐานของ สกอ.

รายวิชาที่ต้องศึกษาในปีการศึกษาที่ 4   (ตัวอย่าง)
1.      ความรู้พื้นฐานทางปรัชญา
2.      ทักษะการสื่อสารสำหรับผู้นำในวิชาชีพ               
3.      การใช้ภาษาอังกฤษ 1                                  
4.      การใช้ภาษาอังกฤษ 2
5.      สัมมนาประเด็นผู้ประกอบการสังคม

        ผมคิดว่าการจัดการเรียนใหม่ ที่จะเอาเป้าหมายเป็นตัวตั้ง มุ่งให้เกิดผลลัพธ์อย่างจริงจัง และเป็นการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้ น่าจะเป็นแนวทางที่เราสามารถจะสร้างผู้ประกอบการสังคมได้จริง หากจะมีคนถามว่าการเรียนรู้นี้ ต่างจากนักศึกษาปริญญาโท และปริญญาเอกตรงไหน เราคงบอกได้ว่า ต่างกันตรงที่ การศึกษาในระดับปริญญาตรีนี้ ไม่มีการตั้งสมมติฐาน ไม่มีการทดสอบสมมติฐานเหมือนการศึกษาในระดับปริญญาโท และปริญญาเอก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น